สังคมทำเงิน Make Money Online



Join the forum, it's quick and easy

สังคมทำเงิน Make Money Online

สังคมทำเงิน Make Money Online

Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
สังคมทำเงิน Make Money Online

สังคมแห่งการแบ่งปัน แบ่งปันรายได้ แบ่งปันความรู้ แบ่งปันสาระ

clock

ราคาทองคำวันนี้

Statistics

Post ทั้งหมด 1432 หัวข้อ in 641 subjects

สมาชิกทั้งหมด 398 คน

สมาชิกล่าสุดคือ dekinw

เข้าสู่ระบบ(Log in)

ลืม(forget) password

ราคาน้ำมัน

ดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน

music online

Ad

คนออนไลน์

website counter

map


    ชั่วโมงเซียน-เหรียญหลวงปู่ไข่เหรียญทองแดง..."แพงที่สุดในโลก!"

    avatar
    Admin
    Admin


    จำนวนข้อความ : 698
    Join date : 06/06/2010

    ชั่วโมงเซียน-เหรียญหลวงปู่ไข่เหรียญทองแดง..."แพงที่สุดในโลก!" Empty ชั่วโมงเซียน-เหรียญหลวงปู่ไข่เหรียญทองแดง..."แพงที่สุดในโลก!"

    ตั้งหัวข้อ  Admin Thu Aug 15, 2013 8:48 pm

    ชั่วโมงเซียน-เหรียญหลวงปู่ไข่เหรียญทองแดง..."แพงที่สุดในโลก!"
    "วัตถุมงคลของท่านเด่นทางเมตตามหานิยม และแคล้วคลาดครบเครื่อง"
     นี่คือพุทธคุณที่เล่าสืบทอดกันมาของพระเครื่องและวัตถุมงคลของ หลวงปู่ไข่ อินฺทสโรภิกฺขุ (ไข่) หรือที่รู้จักกันดีในหมู่นักสะสมพระเครื่องว่า หลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน
     วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยมมีด้วยกัน ๓ ชนิดใหญ่ๆ คือ เหรียญรูปไข่ พระปิดตา และพระอรหังกลีบบัว สำหรับพระปิดตาเนื้อผงคลุกรักของท่าน เริ่มสร้างมาเมื่อประมาณปี ๒๔๖๐ เป็นต้นมา โดยมีการสร้างหรียญรูปไข่ในคราวทำบุญอายุครบ ๖ รอบ
     นอกจากนี้ยังมีพระอรหังกลีบบัว เป็นพระเนื้อดินผสมผง มีทั้งเคลือบและไม่เคลือบ ส่วนเครื่องรางของขลัง ประกอบไปด้วย ประคำเนื้อทองคำ ตะกรุดศัตรูเป็นมิตร เนื้อทองคำ, เงิน ยาว ๒ นิ้ว ลงด้วยยันต์มงกุฎพระพุทธเจ้า ผ้ายันต์นางกวัก หมึกสีแดง ล้อมด้วยยันต์มงกุฎพระพุทธเจ้าหมึกสีน้ำเงิน
     เหรียญหลวงปู่ไข่ รุ่นแรกสร้าง ปี ๒๔๗๓ สันนิษฐานว่าสร้างไม่เกิน ๗๐ เหรียญ ถือว่าแพงสุดๆ ในบรรดาเหรียญพระสงฆ์ทั้งหมด เหรียญที่นำมาโชว์นี้ ที่มีค่านิยมสูงถึง ๒๕ ล้านบาท เหตุที่มีค่านิยมสูงเพราะเป็นเหรียญสวยที่สุดในวงการเท่าที่พบมา ซึ่งเคยผ่านตาเฉพาะที่เป็นภาพถ่าย ๔ เหรียญเท่านั้น
     ทั้งนี้ เคยมีการจัดอันดับเหรียญพระสงฆ์ ที่ได้รับความนิยมเทียบเท่า หรือสูงกว่าเหรียญเบญจภาคีพระสงฆ์ที่เคยจัดลำดับไว้ในอดีต เช่น เหรียญหลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว ฉะเชิงเทรา เหรียญหลวงพ่อคง วัดซำป่าง่าม ฉะเชิงเทรา เหรียญหลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ เหรียญหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ และเหรียญสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถร) วัดเทพศิรินทราวาส เป็นต้น
     ปกติแล้ว ถ้าเป็นเหรียญวงรีรูปทรงไข่ การสร้างเหรียญตั้งแต่ปี ๒๔๖๐- ๒๔๘๐ ประมาณ ๙๘% จะเป็นเหรียญชนิดหูเชื่อม แต่ความพิเศษของเหรียญหลวงปู่รุ่นนี้ แม้จะสร้างในปี ๒๔๗๓ กลับเป็นเหรียญหูในตัว เข้าใจว่าจำนวนการสร้างที่น้อย ประมาณการว่ามีการสร้างเหรียญรุ่นนี้เพียง ๗๐ เหรียญเท่านั้น (สร้างตามอายุ)
      ในกรณีการสร้างเหรียญปั๊มข้างกระบอก ส่วนใหญ่จะเป็นเหรียญที่มีการสร้างในหลักร้อยเหรียญขึ้นไป การผลิตเหรียญรุ่นนี้ เป็นเป็นเหรียญข้างเลื่อย ชนิดหูในตัว (เหรียญที่เลื่อยเผื่อหูสำหรับเจาะรูภายหลัง โดยเหรียญและหูเชื่อมทำมาพร้อมๆ กัน)
      นักเลงพระในอดีตบอกต่อๆ กันมาว่า เป็นเหรียญหูเชื่อม (เหรียญกับหูเชื่อมทำคนละครั้ง มาเชื่อมต่อกันภายหลัง) สันนิษฐานว่า เซียนไม่อยากเปิดเผยจุดสำคัญ ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นได้ว่า เซียนต้องการซื้อเก็บไว้เอง ขณะเดียวกันอาจจะมีความรู้เรื่องเหรียญมากพอ
      สำหรับเหตุผลที่ทำให้เหรียญรุ่นนี้มีค่านิยมสูงมาตั้งแต่อดีตนั้น เนื่องจากได้รับการถ่ายทอดจากนักเลงพระยุคก่อนๆ ว่า “เหรียญหลวงปู่ไข่ วัดบพิตรภิมุข สร้างปี ๒๔๗๓ สันนิษฐานว่าสร้างไม่เกิน ๗๐ เหรียญ เป็นเหรียญในตำนาน ใครได้ครอบครองถือว่า เป็นสุดยอดของคนเล่นพระเหรียญ” ซึ่งเป็นเหตุผลหนึ่งที่มีคนกล้าเช่าในราคาสูง เพราะถ้าเป็นคนเล่นเหรียญพันธุ์แท้ ต้องมีเหรียญหลวงปู่ไข่ด้วย
     
     ส่วน การทำปลอมนั้น มีทั้งหูในตัว หูเชื่อม แต่ฝีมือการทำปลอมยังห่างไกลมาก เพราะไม่มีเหรียญแท้ไปเป็นแบบ เรียกว่าเก๊ดูง่าย ตลอดเวลาที่อยู่ในวงการพระมานาน เคยเห็นเหรียญหลวงปู่ไข่ที่หมุนเวียนอยู่ในตลาดพระเครื่อง และหนังสือพระเพียง ๔ เหรียญเท่านั้น
      นอกจากเหรียญหลวงปู่ไข่ รุ่นแรก ซึ่งเป็นรุ่นเดียวนั้น ยังมีพระปิดตาหลวงปู่ไข่ ที่มีการแสวงหาในหลักล้านบาท แต่ก็เป็นเรื่องแปลก สำหรับ พระอรหังกลีบบัวหลวงปู่ไข่ ค่านิยมอยู่ในหลักพันปลายๆ เท่านั้น เข้าใจว่าจำนวนการสร้างมีมากนั่นเอง
     อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเหรียญหลวงปู่ไข่ และพระปิดตาหลวงปู่ไข่ จะขึ้นชื่อว่าสุดยอดของความแพง คืออยู่ในหลักล้านบาท แต่ยังมีพระดีราคาถูก ที่มีพุทธคุณไม่แพ้กัน คือ พระกลีบบัวอรหัง ซึ่งเป็นพระที่หลวงปู่ไข่สร้าง ไว้เมื่อประมาณ พ.ศ.๒๔๗๐ เพื่อไว้แจกโดยตรง เป็นว่าพระใช้งาน จำนวนมากหน่อย ปัจจุบันยังพอหาได้ไม่ยากนัก สวยๆ ก็อยู่ที่หลักหมื่น แต่ส่วนใหญ่จะอยู่ในหลักพันเท่านั้น
    ปฏิปทา "หลวงปู่ไข่"
     หลวงปู่ไข่ ไม่ได้มียศถาบรรดาศักดิ์ เป็นเพียงพระหลวงตาประจำวัด แต่การปฏิบัติ และกิตติคุณของท่าน เป็นที่เลื่องลือว่าทรงวิทยาวรคุณ เป็นพระวิปัสสนาที่มีชื่อเสียง และมีคุณธรรมสูง เป็นที่ยอมรับในหมู่นักปฏิบัติธรรม เมื่อครั้งที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ นอกจากจะเป็นผู้เคร่งครัดในการปฏิบัติแล้ว ท่านได้สร้างพระแจกให้ลูกศิษย์ และผู้ที่มานมัสการท่าน เพื่อนำไปบูชาให้เกิดสิริมงคลอีกด้วย ปรากฏว่าวัตถุมงคลที่ท่านแจกไปนั้น เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าเด่นในด้านเมตตา คงกระพัน มหาอุด และดีพร้อมทุกอย่าง
     
     ในระหว่างที่หลวงปู่ไข่จำพรรษาอยู่ ณ วัดบพิตรมุข หลวงปู่ไข่ได้ ปฏิบัติทางธรรมและสร้างการกุศลหลายประการ ได้แก่ สอนพระกรรมฐานแก่บรรพชิตและฆราวาส ช่วยอนุเคราะห์แก่ผู้เจ็บไข้ได้ทุกข์ บริจาคทรัพย์ส่วนตัว และชักชวนบรรดาศิษย์และผู้ที่คุ้นเคยให้มาร่วมการทำบุญ เช่น สร้างพระพุทธปฏิมา ซ่อมพระพุทธรูปของเก่าที่ชำรุดหักพังให้ดีขึ้น สร้างพระไตรปิฎก โดยหลวงปู่ไข่ลง มือจารใบลานด้วยตนเองบ้าง ให้ช่างจารขึ้นบ้าง ซ่อมแซมกุฏิที่ชำรุดทรุดโทรมให้ดีขึ้น สร้างกุฏิเป็นห้องแถวไม้ขึ้นอีกหลายกุฏิ ทั้งได้สร้างถนน สระน้ำ ถังรับน้ำฝน ขึ้นภายในบริเวณวัด สร้างแท่นสำหรับนั่งพักภายในคณะกุฏิให้เป็นที่สะดวกแก่พระภิกษุสามเณรที่ อาศัยอยู่ในคณะนั้น เป็นต้น
     นอกจากนี้ ยังปรากฏว่า เมื่อครั้งหลวงปู่ไข่จำพรรษาอยู่ตามหัวเมือง ก็ได้สร้างและปฏิสังขรณ์วัดต่างๆ มาแล้วหลายแห่ง
     หลวงปู่ไข่ เป็นผู้ที่ตั้งมั่นอยู่ในคุณพระรัตนตรัย มีจิตสุขุมเยือกเย็น ประกอบด้วยเมตตากรุณา มีจริยาวัตรอัธยาศัยเรียบร้อย เคร่งครัดในทางสัมมาปฏิบัติ เป็นที่เคารพนับถือแก่บรรดาศิษย์ และผู้ที่รู้จักคุ้นเคยทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด เป็นอันมาก
      หลวงปู่ไข่ มรณภาพเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๔๗๕ ด้วยวัย ๗๔ ปี พรรษา ๕๔ นับถึงปัจจุบันนี้ก็เป็นปีที่ ๗๙ แล้ว แต่ความเชื่อความศรัทธาในบารมีแห่งตัวท่าน ผ่านวัตถุมคลของท่าน ยังคงอยู่ในความทรงจำ และความรู้สึกของลูกศิษย์อยู่เสมอ
    บอย ท่าพรจันทร์

    ชั่วโมงเซียน-เหรียญหลวงปู่ไข่เหรียญทองแดง..."แพงที่สุดในโลก!" Lungpukai
    ประวัติ หลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน (วัดบพิตรพิมุขวรวิหาร) อินฺทสโรภิกฺขุ (ไข่) หรือที่รู้จักกันดีในหมู่นักสะสมพระเครื่องว่า หลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน เป็นชาวแปดริ้ว บ้านเกิดอยู่บริเวณ ประตูน้ำท่าไข่ อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทราในปัจจุบัน หลวงปู่เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2402 ตรงกับขึ้น5 ค่ำ เดือน 7 ปีมะแม เป็นบุตรของนายกล่อม นางบัว จันทร์สัมฤทธิ์ มีพี่น้องกี่คนไม่ปรากฏ ขณะที่ท่าน อายุ 6 ขวบ(ประมาณ พ.ศ. 2408) บิดาได้นำไปฝากเป็นศิษย์หลวงพ่อปาน วัดโสธร คือวัดโสธรวราราม จังหวัดฉะเชิงเทราในปัจจุบัน เพื่อให้เรียนหนังสือ ต่อมาจึงได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อได้บรรพชาแล้วก็ได้หัดเทศน์มหาชาติและ เทศน์ประชัน กล่าวกันว่าหลวงพ่อปู่ไข่ มีความสามารถในการเทศน์มหาชาติกัณฑ์กุมารและกัณฑ์มัทรีได้ไพเราะกังวานจับใจ ผู้ฟังยิ่งนักแม้ภายหลังเมื่อชราแล้ว ศิษย์ผู้อยู่ใกล้ชิดก็มักจะได้ยินหลวงปู่ทบทวนการเทศน์มหาชาติ ทั้ง 2 กัณฑ์ ในตอนกลางคืนอยู่เสมอๆ ครั้นเมื่อหลวงพ่อปาน วัดโสธร มรณภาพแล้ว หลวงปู่ไข่ ได้ไปอยู่กับพระอาจารย์จวง วัดน้อย ซึ่งปัจจุบันอยู่ในอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี จนกระทั่งพระอาจารย์จวงมรณภาพ ขณะนั้นหลวงปู่ไข่ มีอายุได้ 15 ปี (ประมาณ พ.ศ.2417) ตามประวัติกล่าวว่าหลวงปู่ไข่ ได้เดินทางมากรุงเทพฯ ไปอยู่กับพระอาจารย์รูปหนึ่ง (ไม่ปรากฏนาม) ที่วัดหงส์รัตนาราม อำเภอบางกอกใหญ่ ฝั่งธนบุรี เพื่อเรียนพระปริยัติธรรม อีก 3 ปีต่อมา (ประมาณ พ.ศ.2420) หลวงปู่ไข่ ได้เดินทางไปอยู่กับพระอาจารย์เอี่ยม วัดลัดด่าน ซึ่งอยู่ที่แม่กลอง จังหวัดสมุทรสาคร และได้เล่าเรียนปริยัติธรรมและพระวินัยจนอายุครบบวช (ประมาณ พ.ศ.2422) จึงได้อุปสมบทที่วัดนี้ โดยมี พระอาจารย์เนตร วัดบ้านแหลม เมืองสมุทรสงคราม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์เอี่ยม วัดลัดด่าน เมืองสมุทรสงคราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ภู่ วัดบางกะพ้อม เมืองสมุทรสงคราม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ อุปสมบทแล้วได้เดินทางไปเรียนพระกรรมฐานกับพระอาจารย์รูปหนึ่ง (ไม่ปรากฏนาม) ซึ่งอยู่ที่เชิงเขา แขวงเมืองกาญจนบุรี เรียนอยู่ระยะหนึ่งจึ่งกลับมาอยู่วัดลัดด่านตามเดิม ต่อมาหลวงปู่ไข่ ได้ออกธุดงค์ไปตามสำนักพระอาจารย์ต่างๆ ซึ่งอยู่ที่อำเภอโพธาราม เมืองราชบุรี และเมืองกาญจนบุรี จากนั้นได้กลับมาอยู่ที่วัดลัดด่านอีกระยะหนึ่ง จึงได้ออกธุดงค์ไปเรียนวิปัสสนากรรมฐานกับพระอาจารย์ในถ้ำที่เมืองกาญจนบุรี เป็นเวลาประมาณ 6 ปี (ราว พ.ศ. 2423 - 2429) ตามประวัติกล่าวถึงเหตุการณ์ตอนนี้ว่า "ท่านเล่าว่า ระหว่างอยู่ในถ้ำนั้น ตกกลางคืนจะมีสิงห์สาราสัตย์ต่างๆ เข้ามานอนล้อมกอด พอเช้ามืดต่างคนต่างออกไปหากิน ส่วนท่านก็จะออกบิณฑบาตเป็นกิจวัตรประจำวัน (ท่านฉันหนเดียว) เมื่อท่านศึกษาอยู่ในถ้ำนั้นเป็นเวลานานพอสมควร เห็นว่าจะช่วยเหลือโลกได้บ้างแล้ว ท่านก็เดินธุดงค์ออกจากถ้ำไปในที่ต่าง ๆ โดยไม่ยอมขึ้นรถลงเรือ และไม่มีจุดหมายปลายทาง สุดแต่มืดที่ไหนก็กางกลดนอนที่นั่น เช้าก็ออกเดินธุดงค์ต่อไป ในระหว่างทางมีราษฎรมาขอความช่วยเหลือไม่ว่าจะเป็นเรื่องใด เรื่องตกทุกข์ได้ยาก หรือเจ็บไข้ได้ป่วยหรือเป็นบ้าเสียจริต ท่านมีจิตเมตตาช่วยรักษาให้ตามที่อธิษฐานทุกคน" หลวงปู่ไข่ เดินธุดงค์อยู่ราว ๑๕ ปี (ประมาณ พ.ศ.๒๔๒๙ - พ.ศ.๒๔๔๔) เกียรติคุณของหลวงปู่ไข่ ได้เลื่องลือเข้ามาถึงกรุงเทพฯ จึงมีผู้นิมนต์มาอยู่ที่วัดบางยี่เรือ ฝั่งธนบุรี เป็นเวลา ๑ ปี จากนั้นหลวงปู่ไข่ ก็ออกธุดงค์ไปตามป่าเขาลำเนาไพรอีกหลายปี ในที่สุดหลวงปู่ไข่ ก็เดินทางเข้ามากรุงเทพฯ อีกครั้งหนึ่ง เข้าใจว่าคงราว ๆ พ.ศ.๒๔๕๕ -พ.ศ.๒๔๖๑ การเดินทางเข้ากรุงเทพฯ ครั้งนี้ หลวงปู่ไข่ ได้เลือกจำพรรษาอยู่ที่วัดเชิงเลน หรือวัดบพิตรพิมุขวรวิหาร ทั้งนี้เพราะที่วัดบพิตรพิมุขมีพระภิกษุน้อย และมีคณะกุฏิ ซึ่งใช้เป็นที่เก็บศพ และบางครั้งก็มีชาวบ้านเข้ามาใช้เป็นที่ถ่ายอุจจาระด้วย ดังนั้นคณะกุฏินี้จึงเป็นสถานที่เงียบสงบ ไม่มีใครมารบกวนมากนัก หลวงปู่ไข่จึงเข้ามาอยู่ที่คณะกุฏิในป่าช้าของวัดบพิตรพิมุข สมัยนั้นพระภิกษุรูปใดจะเข้ามาอยู่วัดก็ได้โดยเสรี ไม่ต้องมีบัตรและไม่มีใครตรวจตรา ไม่ต้องขออนุญาต เพียงแต่ถึงคราวเข้าปุริมพรรษา ก็บอกกล่าวเจ้าอาวาสให้รับทราบ เพื่อจะได้จำพรรษาที่วัดนั้น และเมื่อหลวงปู่ไข่ มาอยู่ที่วัดบพิตรพิมุขนั้น พระกวีวงศ์ (กระแจะ วสุตตโม ป.ธ.๔) เป็นเจ้าอาวาส ในระหว่างที่หลวงปู่ไข่ จำพรรษาอยู่ ณ วัดบพิตรมุข หลวงปู่ไข่ ได้ปฏิบัติทางธรรมและสร้างการกุศลหลายประการ ได้แก่ สอนพระกรรมฐานแก่บรรพชิตและฆราวาส ช่วยอนุเคราะห์แก่ผู้เจ็บไข้ได้ทุกข์ บริจาคทรัพย์ส่วนตัวและชักชวนบรรดาศิษย์และผู้ที่คุ้นเคยให้มาร่วมการทำบุญ เช่น สร้างพระพุทธปฏิมา ซ่อมพระพุทธรูปของเก่าที่ชำรุดหักพังให้ดีขึ้น สร้างพระไตรปิฎก โดยหลวงปู่ไข่ ลงมือจารใบลานด้วยตนเองบ้าง ให้ช่างจารขึ้นบ้าง ซ่อมแซมกุฏิที่ชำรุดทรุดโทรมให้ดีขึ้น สร้างกุฏิเป็นห้องแถวไม้ขึ้นอีกหลายกุฏิ ทั้งได้สร้างถนน สระน้ำ ถังรับน้ำฝน ขึ้นภายในบริเวณวัด สร้างแท่นสำหรับนั่งพักภายในคณะกุฏิให้เป็นที่สะดวกแก่พระภิกษุสามเณรที่ อาศัยอยู่ในคณะนั้น เป็นต้น นอกจากนี้ยังปรากฏว่า เมื่อครั้งหลวงปู่ไข่ จำพรรษาอยู่ตามหัวเมือง ก็ได้สร้างและปฏิสังขรณ์วัดต่าง ๆ มาแล้วหลายแห่ง หลวงปู่ไข่ เป็นผู้ที่ตั้งมั่นอยู่ในคูณพระรัตนตรัย มีจิตสุขุมเยือกเย็นประกอบด้วยเมตตากรุณา มีจริยาวัตรอัธยาศัยเรียบร้อย เคร่งครัดในทางสัมมาปฏิบัติ เป็นที่เคารพนับถือแก่บรรดาศิษย์และผู้ที่รู้จักคุ้นเคยทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดเป็นอันมาก หลวงปู่ไข่เป็นพระที่สมณะใฝ่สันโดษ เจริญวิปัสสนากรรมฐานเป็นนิตย์ไม่ยุ่งเกี่ยวกับใคร บรรดาศิษย์ของหลวงปู่ไข่ได้ป่วยก็มาหา หลวงปู่ไข่ก็จะแนะนำให้ไปซื้อยามาเสกให้กิน เมื่อมีเวลาว่างหลวงปู่ไข่ก็จะสร้างพระ ตะกรุด ธง และเหรียญออกแจกจ่ายแก่บรรดาศิษย์ ราว พ.ศ. ๒๔๗๐ หลวงปู่ไข่ เตรียมบาตร กลด และย่ามเพื่อจะออกธุดงค์ แต่บรรดาศิษย์ทั้งที่เป็นข้าราชการ พ่อค้า ได้ปรึกษาหารือกันว่า หลวงปู่ไข่ ชราภาพมากแล้ว หากออกธุดงค์คราวนี้ไซร้คงจะไม่ได้กลับมาแน่ จึงได้นิมนต์ยับยั้งไว้ โดยขอให้หลวงปู่ไข่ อยู่วิปัสสนากรรมฐานแก่บรรดาศิษย์ต่อไป หลวงปู่ไข่ เริ่มอาพาธด้วยโรคชราตั้งแต่วันที่ ๗ มกราคม พ.ศ.๒๔๗๕ ครั้นวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ.๒๔๗๕ เวลา ๑๓.๒๕ น. ก็ถึงแก่มรณภาพ ก่อนเวลาที่จะมรณภาพ หลวงปู่ไข่ ได้ข่มความทุกข์เวทนาอยู่ในเวลานั้น ให้หายไปได้ ประดุจบุคคลที่ไม่มีอาการเจ็บป่วยใด ๆ แล้วขอให้ศิษย์ที่พยาบาลอยู่ ประคองตัวให้ลุกขึ้นนั่ง และให้จุดธูปเทียนบูชาพระ เมื่อกระทำนมัสการบูชาพระเสร็จแล้วก็เจริญสมาธิสงบระงับจิต เงียบเป็นปกติอยู่ประมาณ ๑๕ นาที ก็หมดลมปราณ ถึงวาระสุดท้ายศิษย์ผู้คอยเฝ้าพยาบาลอยู่ จึงประคองตัวหลวงปู่ไข่ ให้นอนลง รวมอายุได้ ๗๔ ปี พรรษา ๕๔ พรรษา ตามปรกติที่วัดบพิตรพิมุข ไม่มีที่ประชุมเพลิงศพโดยเฉพาะ ด้วยเหตุนี้คณะสงฆ์เห็นว่าหลวงปู่ไข่ เป็นพระเก่าแก่ของวัด และมีผู้เคารพนับถือมาก จึงขออนุญาตเป็นกรณีพิเศษเพื่อทำการประชุมเพลิงศพหลวงปู่ไข่ ที่บริเวณกุฏิ กำหนดประชุมเพลิงในวันที่ ๒๓ เมษายน พ.ศ.๒๔๗๖ เวลา ๑๗.๐๐ น. (คือประมาณ ๑๐๐ วันหลังจากมรณภาพ สมัยนั้น วันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ ๑ เมษายน) ในวันประชุมเพลิงศพ มีคนมาร่วมงานมากมาย ถึงกับล้นออกไปตามตรอกซอยและถนน พอถึงเวลาเคลื่อนศพเพื่อนำไปขึ้นเชิงตะกอน ทันใดนั้นเอง แผ่นดินบริเวณคณะได้เกิดไหวขึ้น คนตกใจถึงกับออกปากว่า อภินิหารของหลวงปู่ไข่ มีมากเหลือเกิน เมื่อประชุมเพลิง แล้วสัปเหร่อได้จัดการแปรธาตุเก็บอัฐิ บรรดาศิษย์เข้าขออัฐิของหลวงปู่ไข่ ไปไว้บูชาเป็นจำนวนมาก

    อ่านบทความต้นฉบับจากเว็บ http://www.itti-patihan.com/ ได้ที่ : http://www.itti-patihan.com/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4-%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B9%88-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%99-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9A%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3.html
    ประวัติ หลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน (วัดบพิตรพิมุขวรวิหาร) อินฺทสโรภิกฺขุ (ไข่) หรือที่รู้จักกันดีในหมู่นักสะสมพระเครื่องว่า หลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน เป็นชาวแปดริ้ว บ้านเกิดอยู่บริเวณ ประตูน้ำท่าไข่ อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทราในปัจจุบัน หลวงปู่เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2402 ตรงกับขึ้น5 ค่ำ เดือน 7 ปีมะแม เป็นบุตรของนายกล่อม นางบัว จันทร์สัมฤทธิ์ มีพี่น้องกี่คนไม่ปรากฏ ขณะที่ท่าน อายุ 6 ขวบ(ประมาณ พ.ศ. 2408) บิดาได้นำไปฝากเป็นศิษย์หลวงพ่อปาน วัดโสธร คือวัดโสธรวราราม จังหวัดฉะเชิงเทราในปัจจุบัน เพื่อให้เรียนหนังสือ ต่อมาจึงได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อได้บรรพชาแล้วก็ได้หัดเทศน์มหาชาติและ เทศน์ประชัน กล่าวกันว่าหลวงพ่อปู่ไข่ มีความสามารถในการเทศน์มหาชาติกัณฑ์กุมารและกัณฑ์มัทรีได้ไพเราะกังวานจับใจ ผู้ฟังยิ่งนักแม้ภายหลังเมื่อชราแล้ว ศิษย์ผู้อยู่ใกล้ชิดก็มักจะได้ยินหลวงปู่ทบทวนการเทศน์มหาชาติ ทั้ง 2 กัณฑ์ ในตอนกลางคืนอยู่เสมอๆ ครั้นเมื่อหลวงพ่อปาน วัดโสธร มรณภาพแล้ว หลวงปู่ไข่ ได้ไปอยู่กับพระอาจารย์จวง วัดน้อย ซึ่งปัจจุบันอยู่ในอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี จนกระทั่งพระอาจารย์จวงมรณภาพ ขณะนั้นหลวงปู่ไข่ มีอายุได้ 15 ปี (ประมาณ พ.ศ.2417) ตามประวัติกล่าวว่าหลวงปู่ไข่ ได้เดินทางมากรุงเทพฯ ไปอยู่กับพระอาจารย์รูปหนึ่ง (ไม่ปรากฏนาม) ที่วัดหงส์รัตนาราม อำเภอบางกอกใหญ่ ฝั่งธนบุรี เพื่อเรียนพระปริยัติธรรม อีก 3 ปีต่อมา (ประมาณ พ.ศ.2420) หลวงปู่ไข่ ได้เดินทางไปอยู่กับพระอาจารย์เอี่ยม วัดลัดด่าน ซึ่งอยู่ที่แม่กลอง จังหวัดสมุทรสาคร และได้เล่าเรียนปริยัติธรรมและพระวินัยจนอายุครบบวช (ประมาณ พ.ศ.2422) จึงได้อุปสมบทที่วัดนี้ โดยมี พระอาจารย์เนตร วัดบ้านแหลม เมืองสมุทรสงคราม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์เอี่ยม วัดลัดด่าน เมืองสมุทรสงคราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ภู่ วัดบางกะพ้อม เมืองสมุทรสงคราม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ อุปสมบทแล้วได้เดินทางไปเรียนพระกรรมฐานกับพระอาจารย์รูปหนึ่ง (ไม่ปรากฏนาม) ซึ่งอยู่ที่เชิงเขา แขวงเมืองกาญจนบุรี เรียนอยู่ระยะหนึ่งจึ่งกลับมาอยู่วัดลัดด่านตามเดิม ต่อมาหลวงปู่ไข่ ได้ออกธุดงค์ไปตามสำนักพระอาจารย์ต่างๆ ซึ่งอยู่ที่อำเภอโพธาราม เมืองราชบุรี และเมืองกาญจนบุรี จากนั้นได้กลับมาอยู่ที่วัดลัดด่านอีกระยะหนึ่ง จึงได้ออกธุดงค์ไปเรียนวิปัสสนากรรมฐานกับพระอาจารย์ในถ้ำที่เมืองกาญจนบุรี เป็นเวลาประมาณ 6 ปี (ราว พ.ศ. 2423 - 2429) ตามประวัติกล่าวถึงเหตุการณ์ตอนนี้ว่า "ท่านเล่าว่า ระหว่างอยู่ในถ้ำนั้น ตกกลางคืนจะมีสิงห์สาราสัตย์ต่างๆ เข้ามานอนล้อมกอด พอเช้ามืดต่างคนต่างออกไปหากิน ส่วนท่านก็จะออกบิณฑบาตเป็นกิจวัตรประจำวัน (ท่านฉันหนเดียว) เมื่อท่านศึกษาอยู่ในถ้ำนั้นเป็นเวลานานพอสมควร เห็นว่าจะช่วยเหลือโลกได้บ้างแล้ว ท่านก็เดินธุดงค์ออกจากถ้ำไปในที่ต่าง ๆ โดยไม่ยอมขึ้นรถลงเรือ และไม่มีจุดหมายปลายทาง สุดแต่มืดที่ไหนก็กางกลดนอนที่นั่น เช้าก็ออกเดินธุดงค์ต่อไป ในระหว่างทางมีราษฎรมาขอความช่วยเหลือไม่ว่าจะเป็นเรื่องใด เรื่องตกทุกข์ได้ยาก หรือเจ็บไข้ได้ป่วยหรือเป็นบ้าเสียจริต ท่านมีจิตเมตตาช่วยรักษาให้ตามที่อธิษฐานทุกคน" หลวงปู่ไข่ เดินธุดงค์อยู่ราว ๑๕ ปี (ประมาณ พ.ศ.๒๔๒๙ - พ.ศ.๒๔๔๔) เกียรติคุณของหลวงปู่ไข่ ได้เลื่องลือเข้ามาถึงกรุงเทพฯ จึงมีผู้นิมนต์มาอยู่ที่วัดบางยี่เรือ ฝั่งธนบุรี เป็นเวลา ๑ ปี จากนั้นหลวงปู่ไข่ ก็ออกธุดงค์ไปตามป่าเขาลำเนาไพรอีกหลายปี ในที่สุดหลวงปู่ไข่ ก็เดินทางเข้ามากรุงเทพฯ อีกครั้งหนึ่ง เข้าใจว่าคงราว ๆ พ.ศ.๒๔๕๕ -พ.ศ.๒๔๖๑ การเดินทางเข้ากรุงเทพฯ ครั้งนี้ หลวงปู่ไข่ ได้เลือกจำพรรษาอยู่ที่วัดเชิงเลน หรือวัดบพิตรพิมุขวรวิหาร ทั้งนี้เพราะที่วัดบพิตรพิมุขมีพระภิกษุน้อย และมีคณะกุฏิ ซึ่งใช้เป็นที่เก็บศพ และบางครั้งก็มีชาวบ้านเข้ามาใช้เป็นที่ถ่ายอุจจาระด้วย ดังนั้นคณะกุฏินี้จึงเป็นสถานที่เงียบสงบ ไม่มีใครมารบกวนมากนัก หลวงปู่ไข่จึงเข้ามาอยู่ที่คณะกุฏิในป่าช้าของวัดบพิตรพิมุข สมัยนั้นพระภิกษุรูปใดจะเข้ามาอยู่วัดก็ได้โดยเสรี ไม่ต้องมีบัตรและไม่มีใครตรวจตรา ไม่ต้องขออนุญาต เพียงแต่ถึงคราวเข้าปุริมพรรษา ก็บอกกล่าวเจ้าอาวาสให้รับทราบ เพื่อจะได้จำพรรษาที่วัดนั้น และเมื่อหลวงปู่ไข่ มาอยู่ที่วัดบพิตรพิมุขนั้น พระกวีวงศ์ (กระแจะ วสุตตโม ป.ธ.๔) เป็นเจ้าอาวาส ในระหว่างที่หลวงปู่ไข่ จำพรรษาอยู่ ณ วัดบพิตรมุข หลวงปู่ไข่ ได้ปฏิบัติทางธรรมและสร้างการกุศลหลายประการ ได้แก่ สอนพระกรรมฐานแก่บรรพชิตและฆราวาส ช่วยอนุเคราะห์แก่ผู้เจ็บไข้ได้ทุกข์ บริจาคทรัพย์ส่วนตัวและชักชวนบรรดาศิษย์และผู้ที่คุ้นเคยให้มาร่วมการทำบุญ เช่น สร้างพระพุทธปฏิมา ซ่อมพระพุทธรูปของเก่าที่ชำรุดหักพังให้ดีขึ้น สร้างพระไตรปิฎก โดยหลวงปู่ไข่ ลงมือจารใบลานด้วยตนเองบ้าง ให้ช่างจารขึ้นบ้าง ซ่อมแซมกุฏิที่ชำรุดทรุดโทรมให้ดีขึ้น สร้างกุฏิเป็นห้องแถวไม้ขึ้นอีกหลายกุฏิ ทั้งได้สร้างถนน สระน้ำ ถังรับน้ำฝน ขึ้นภายในบริเวณวัด สร้างแท่นสำหรับนั่งพักภายในคณะกุฏิให้เป็นที่สะดวกแก่พระภิกษุสามเณรที่ อาศัยอยู่ในคณะนั้น เป็นต้น นอกจากนี้ยังปรากฏว่า เมื่อครั้งหลวงปู่ไข่ จำพรรษาอยู่ตามหัวเมือง ก็ได้สร้างและปฏิสังขรณ์วัดต่าง ๆ มาแล้วหลายแห่ง หลวงปู่ไข่ เป็นผู้ที่ตั้งมั่นอยู่ในคูณพระรัตนตรัย มีจิตสุขุมเยือกเย็นประกอบด้วยเมตตากรุณา มีจริยาวัตรอัธยาศัยเรียบร้อย เคร่งครัดในทางสัมมาปฏิบัติ เป็นที่เคารพนับถือแก่บรรดาศิษย์และผู้ที่รู้จักคุ้นเคยทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดเป็นอันมาก หลวงปู่ไข่เป็นพระที่สมณะใฝ่สันโดษ เจริญวิปัสสนากรรมฐานเป็นนิตย์ไม่ยุ่งเกี่ยวกับใคร บรรดาศิษย์ของหลวงปู่ไข่ได้ป่วยก็มาหา หลวงปู่ไข่ก็จะแนะนำให้ไปซื้อยามาเสกให้กิน เมื่อมีเวลาว่างหลวงปู่ไข่ก็จะสร้างพระ ตะกรุด ธง และเหรียญออกแจกจ่ายแก่บรรดาศิษย์ ราว พ.ศ. ๒๔๗๐ หลวงปู่ไข่ เตรียมบาตร กลด และย่ามเพื่อจะออกธุดงค์ แต่บรรดาศิษย์ทั้งที่เป็นข้าราชการ พ่อค้า ได้ปรึกษาหารือกันว่า หลวงปู่ไข่ ชราภาพมากแล้ว หากออกธุดงค์คราวนี้ไซร้คงจะไม่ได้กลับมาแน่ จึงได้นิมนต์ยับยั้งไว้ โดยขอให้หลวงปู่ไข่ อยู่วิปัสสนากรรมฐานแก่บรรดาศิษย์ต่อไป หลวงปู่ไข่ เริ่มอาพาธด้วยโรคชราตั้งแต่วันที่ ๗ มกราคม พ.ศ.๒๔๗๕ ครั้นวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ.๒๔๗๕ เวลา ๑๓.๒๕ น. ก็ถึงแก่มรณภาพ ก่อนเวลาที่จะมรณภาพ หลวงปู่ไข่ ได้ข่มความทุกข์เวทนาอยู่ในเวลานั้น ให้หายไปได้ ประดุจบุคคลที่ไม่มีอาการเจ็บป่วยใด ๆ แล้วขอให้ศิษย์ที่พยาบาลอยู่ ประคองตัวให้ลุกขึ้นนั่ง และให้จุดธูปเทียนบูชาพระ เมื่อกระทำนมัสการบูชาพระเสร็จแล้วก็เจริญสมาธิสงบระงับจิต เงียบเป็นปกติอยู่ประมาณ ๑๕ นาที ก็หมดลมปราณ ถึงวาระสุดท้ายศิษย์ผู้คอยเฝ้าพยาบาลอยู่ จึงประคองตัวหลวงปู่ไข่ ให้นอนลง รวมอายุได้ ๗๔ ปี พรรษา ๕๔ พรรษา ตามปรกติที่วัดบพิตรพิมุข ไม่มีที่ประชุมเพลิงศพโดยเฉพาะ ด้วยเหตุนี้คณะสงฆ์เห็นว่าหลวงปู่ไข่ เป็นพระเก่าแก่ของวัด และมีผู้เคารพนับถือมาก จึงขออนุญาตเป็นกรณีพิเศษเพื่อทำการประชุมเพลิงศพหลวงปู่ไข่ ที่บริเวณกุฏิ กำหนดประชุมเพลิงในวันที่ ๒๓ เมษายน พ.ศ.๒๔๗๖ เวลา ๑๗.๐๐ น. (คือประมาณ ๑๐๐ วันหลังจากมรณภาพ สมัยนั้น วันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ ๑ เมษายน) ในวันประชุมเพลิงศพ มีคนมาร่วมงานมากมาย ถึงกับล้นออกไปตามตรอกซอยและถนน พอถึงเวลาเคลื่อนศพเพื่อนำไปขึ้นเชิงตะกอน ทันใดนั้นเอง แผ่นดินบริเวณคณะได้เกิดไหวขึ้น คนตกใจถึงกับออกปากว่า อภินิหารของหลวงปู่ไข่ มีมากเหลือเกิน เมื่อประชุมเพลิง แล้วสัปเหร่อได้จัดการแปรธาตุเก็บอัฐิ บรรดาศิษย์เข้าขออัฐิของหลวงปู่ไข่ ไปไว้บูชาเป็นจำนวนมาก

    อ่านบทความต้นฉบับจากเว็บ http://www.itti-patihan.com/ ได้ที่ : http://www.itti-patihan.com/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4-%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B9%88-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%99-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9A%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3.html
    ประวัติ หลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน (วัดบพิตรพิมุขวรวิหาร) อินฺทสโรภิกฺขุ (ไข่) หรือที่รู้จักกันดีในหมู่นักสะสมพระเครื่องว่า หลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน เป็นชาวแปดริ้ว บ้านเกิดอยู่บริเวณ ประตูน้ำท่าไข่ อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทราในปัจจุบัน หลวงปู่เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2402 ตรงกับขึ้น5 ค่ำ เดือน 7 ปีมะแม เป็นบุตรของนายกล่อม นางบัว จันทร์สัมฤทธิ์ มีพี่น้องกี่คนไม่ปรากฏ ขณะที่ท่าน อายุ 6 ขวบ(ประมาณ พ.ศ. 2408) บิดาได้นำไปฝากเป็นศิษย์หลวงพ่อปาน วัดโสธร คือวัดโสธรวราราม จังหวัดฉะเชิงเทราในปัจจุบัน เพื่อให้เรียนหนังสือ ต่อมาจึงได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อได้บรรพชาแล้วก็ได้หัดเทศน์มหาชาติและ เทศน์ประชัน กล่าวกันว่าหลวงพ่อปู่ไข่ มีความสามารถในการเทศน์มหาชาติกัณฑ์กุมารและกัณฑ์มัทรีได้ไพเราะกังวานจับใจ ผู้ฟังยิ่งนักแม้ภายหลังเมื่อชราแล้ว ศิษย์ผู้อยู่ใกล้ชิดก็มักจะได้ยินหลวงปู่ทบทวนการเทศน์มหาชาติ ทั้ง 2 กัณฑ์ ในตอนกลางคืนอยู่เสมอๆ ครั้นเมื่อหลวงพ่อปาน วัดโสธร มรณภาพแล้ว หลวงปู่ไข่ ได้ไปอยู่กับพระอาจารย์จวง วัดน้อย ซึ่งปัจจุบันอยู่ในอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี จนกระทั่งพระอาจารย์จวงมรณภาพ ขณะนั้นหลวงปู่ไข่ มีอายุได้ 15 ปี (ประมาณ พ.ศ.2417) ตามประวัติกล่าวว่าหลวงปู่ไข่ ได้เดินทางมากรุงเทพฯ ไปอยู่กับพระอาจารย์รูปหนึ่ง (ไม่ปรากฏนาม) ที่วัดหงส์รัตนาราม อำเภอบางกอกใหญ่ ฝั่งธนบุรี เพื่อเรียนพระปริยัติธรรม อีก 3 ปีต่อมา (ประมาณ พ.ศ.2420) หลวงปู่ไข่ ได้เดินทางไปอยู่กับพระอาจารย์เอี่ยม วัดลัดด่าน ซึ่งอยู่ที่แม่กลอง จังหวัดสมุทรสาคร และได้เล่าเรียนปริยัติธรรมและพระวินัยจนอายุครบบวช (ประมาณ พ.ศ.2422) จึงได้อุปสมบทที่วัดนี้ โดยมี พระอาจารย์เนตร วัดบ้านแหลม เมืองสมุทรสงคราม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์เอี่ยม วัดลัดด่าน เมืองสมุทรสงคราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ภู่ วัดบางกะพ้อม เมืองสมุทรสงคราม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ อุปสมบทแล้วได้เดินทางไปเรียนพระกรรมฐานกับพระอาจารย์รูปหนึ่ง (ไม่ปรากฏนาม) ซึ่งอยู่ที่เชิงเขา แขวงเมืองกาญจนบุรี เรียนอยู่ระยะหนึ่งจึ่งกลับมาอยู่วัดลัดด่านตามเดิม ต่อมาหลวงปู่ไข่ ได้ออกธุดงค์ไปตามสำนักพระอาจารย์ต่างๆ ซึ่งอยู่ที่อำเภอโพธาราม เมืองราชบุรี และเมืองกาญจนบุรี จากนั้นได้กลับมาอยู่ที่วัดลัดด่านอีกระยะหนึ่ง จึงได้ออกธุดงค์ไปเรียนวิปัสสนากรรมฐานกับพระอาจารย์ในถ้ำที่เมืองกาญจนบุรี เป็นเวลาประมาณ 6 ปี (ราว พ.ศ. 2423 - 2429) ตามประวัติกล่าวถึงเหตุการณ์ตอนนี้ว่า "ท่านเล่าว่า ระหว่างอยู่ในถ้ำนั้น ตกกลางคืนจะมีสิงห์สาราสัตย์ต่างๆ เข้ามานอนล้อมกอด พอเช้ามืดต่างคนต่างออกไปหากิน ส่วนท่านก็จะออกบิณฑบาตเป็นกิจวัตรประจำวัน (ท่านฉันหนเดียว) เมื่อท่านศึกษาอยู่ในถ้ำนั้นเป็นเวลานานพอสมควร เห็นว่าจะช่วยเหลือโลกได้บ้างแล้ว ท่านก็เดินธุดงค์ออกจากถ้ำไปในที่ต่าง ๆ โดยไม่ยอมขึ้นรถลงเรือ และไม่มีจุดหมายปลายทาง สุดแต่มืดที่ไหนก็กางกลดนอนที่นั่น เช้าก็ออกเดินธุดงค์ต่อไป ในระหว่างทางมีราษฎรมาขอความช่วยเหลือไม่ว่าจะเป็นเรื่องใด เรื่องตกทุกข์ได้ยาก หรือเจ็บไข้ได้ป่วยหรือเป็นบ้าเสียจริต ท่านมีจิตเมตตาช่วยรักษาให้ตามที่อธิษฐานทุกคน" หลวงปู่ไข่ เดินธุดงค์อยู่ราว ๑๕ ปี (ประมาณ พ.ศ.๒๔๒๙ - พ.ศ.๒๔๔๔) เกียรติคุณของหลวงปู่ไข่ ได้เลื่องลือเข้ามาถึงกรุงเทพฯ จึงมีผู้นิมนต์มาอยู่ที่วัดบางยี่เรือ ฝั่งธนบุรี เป็นเวลา ๑ ปี จากนั้นหลวงปู่ไข่ ก็ออกธุดงค์ไปตามป่าเขาลำเนาไพรอีกหลายปี ในที่สุดหลวงปู่ไข่ ก็เดินทางเข้ามากรุงเทพฯ อีกครั้งหนึ่ง เข้าใจว่าคงราว ๆ พ.ศ.๒๔๕๕ -พ.ศ.๒๔๖๑ การเดินทางเข้ากรุงเทพฯ ครั้งนี้ หลวงปู่ไข่ ได้เลือกจำพรรษาอยู่ที่วัดเชิงเลน หรือวัดบพิตรพิมุขวรวิหาร ทั้งนี้เพราะที่วัดบพิตรพิมุขมีพระภิกษุน้อย และมีคณะกุฏิ ซึ่งใช้เป็นที่เก็บศพ และบางครั้งก็มีชาวบ้านเข้ามาใช้เป็นที่ถ่ายอุจจาระด้วย ดังนั้นคณะกุฏินี้จึงเป็นสถานที่เงียบสงบ ไม่มีใครมารบกวนมากนัก หลวงปู่ไข่จึงเข้ามาอยู่ที่คณะกุฏิในป่าช้าของวัดบพิตรพิมุข สมัยนั้นพระภิกษุรูปใด

      เวลาขณะนี้ Fri Apr 26, 2024 4:13 pm